พัฒนาโมบายแอปพลิเคชันช่วยวางแผนการท่องเที่ยววิถีพุทธในพื้นที่เกาะเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Develop Mobile Application for Planning Buddhist Tourism in the Ko Muang Area of Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโมบายแอพพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยววิถีพุทธในพื้นที่เกาะเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพโมบายแอพพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยววิถีพุทธในพื้นที่เกาะเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจโมบายแอพพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยววิถีพุทธในพื้นที่เกาะเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สนใจท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยววิถีพุทธที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เกาะเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โมบายแอพพลิเคชันนี้ทำการพัฒนาขึ้นด้วยแอนดรอยด์สตูดิโอและจัดเก็บข้อมูลด้วยมายเอสคิวแอล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพโมบายแอพพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยววิถีพุทธในพื้นที่เกาะเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และแบบประเมินการยอมรับเทคโนโลยี มีลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า โมบายแอพพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยววิถีพุทธในพื้นที่เกาะเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยลำดับการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวที่ผู้ใช้กำหนด แสดงเส้นทางการเดินทางด้วย Google Map สืบค้นข้อมูลร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ สถานที่ฉุกเฉินได้ ผลการประเมินหาประสิทธิภาพโมบายแอพพลิเคชันโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 𝑥̅ = 4.52, S.D. = 0.42) และความพึงพอใจต่อโมบายแอพพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยววิถีพุทธภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( 𝑥̅ = 4.49, S.D. = 0.59)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชนัญ วงษ์วิภาค. (2547).การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. นครปฐม : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนกฤต สังข์เฉย. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริหาร. เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศ.
ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. (2560) การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นิศากร เถาสมบัติ, เนตรนภา แซ่ตั้ง และณัฏฐ์ธมน หีบจันทร์กรี. (2563) .การพัฒนาแอปพลิเคชันวัดไทยบนสมาร์ทโฟน. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 20(1). 34-54.
นงเยาว์ ชาญณรงค์. (2559). วัฒนธรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์. 35(2)2:
-184.
พิสุทธา อารีราษฏร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
ศศิพิมพ์ ปิ่นประยูร, ศศิมาพร ภูนิลามัย, กาญจนา ผาพรม, และสุขสันต์ พรมบุญเรือง. (2558). แอพพลิเคชั่นแนะนาสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ ภูมิภาคอาเซียน. ฉะเชิงเทรา : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
สุรสีห์ น้อยมหาไวย, และปานจิตร์ หลงประดิษฐ์. (2559). แอพพลิเคชั่นรับรู้และแสดงตำแหน่งสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี ตามการจำแนกกลุ่มของผู้ใช้ด้วยกูเกิ้ลแมพเอพีไอบนมือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 387-394.
สุธิรา จันทร์ปุ่ม, พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม และแพรตะวัน จารุตัน. (2560). การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนคร บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 4(2). 114-120.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยชุมชนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2561 - 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา.
Android Developers. (2009). Android SDK. ค้นหาเมื่อ 20 มกราคม 2567 จาก http://developer.android.com/sdk/index.html?utm_soure=webolife