จริยธรรมการตีพิมพ์
มาตรฐานทางจริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)
1. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน (Duties of Authors)
1.1 ผู้แต่งต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน |
1.2 ผู้แต่งต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ |
1.3 ผู้แต่งต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานตนเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ |
1.4 ผู้แต่งต้องจัดทำบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน "คำแนะนำผู้แต่ง" |
1.5 ผู้แต่งที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำผลงานทางวิชาการจริง |
1.6 ผู้แต่งต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำผลงานทางวิชาการ |
2. หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)
2.1 บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและกลั่นกรองคุณภาพของบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร และรับรองคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ |
2.2 บรรณาธิการต้องตัดสินใจคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ |
2.3 บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในทุกกรณี |
2.4 บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว |
2.5 บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน ผู้ประเมินบทความ และทีมผู้บริหาร และไม่นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจ |
2.6 บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้าน การคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานผู้อื่น และหากตรวจพบการคัดลอกในระหว่างกระบวนการประเมินบทความก่อนพิจารณาตีพิมพ์ บรรณาธิการต้องหยุดทุกกระบวนการ และติดต่อผู้เขียนหลักเพื่อขอคำชี้แจงทันที ทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบการ "ตอบรับ" หรือ "ปฏิเสธ" การตีพิมพ์บทความนั้นๆ |
2.7 บรรณาธิการต้องรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานของวารสาร และปรับปรุง/พัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ |
3. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
3.1 ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ทำการประเมิน แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ |
3.2 เมื่อผู้ประเมินบทความได้รับบทความจากกองบรรณาธิการแล้ว และเห็นว่าตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้เขียนเป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ |
3.3 ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน และต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการ ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ |
3.4 หากผู้ประเมินบทความตรวจสอบพบว่าบทความที่กำลังประเมิน เป็นบทความที่คัดลอกหรือซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่น ผู้ประเมินฯ ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที |
3.5 ผู้ประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาในการประเมินตามกรอบเวลาที่บรรณาธิการวารสารกำหนด |
3.6 ผู้ประเมินบทความต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน |