การศึกษาเปรียบเทียบระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์และ NoSQL : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร Comparative Analysis of Database Management Approaches: Relational and NoSQL Databases - A Case Study of the Student Database at Kamphaeng Phet Rajabhat University

Main Article Content

นรุตม์ บุตรพลอย
พรหมเมศ วีระพันธ์

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยต้องเผชิญกับความท้าทายในการขยายตัวของข้อมูลภายในมหาวิทยาลัยแนวคิดการทบทวนการปรับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ไปเป็นฐานข้อมูล NoSQL ถูกนำเสนอขึ้นมาเพื่อรองรับแนวโน้มข้อมูลที่ขยายขึ้น  ผู้วิจัยจึงศึกษาแนวทางการจัดการฐานข้อมูลของซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล mysql และ mongodb ผ่านข้อมูลงานที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา วัตถุประสงค์ของงานวิจัยได้แก่ (1) เพื่อทดลองเวลาการตอบสนองของการสืบค้นข้อมูลที่ซับซ้อนและความยืดหยุ่นในการพัฒนาสคีมาซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ด้วย mysql และซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล NoSQL ด้วย mongodb (2) เพื่อวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์กับฐานข้อมูล NoSQL จากการทดลองพบว่า mongodb แสดงเวลาตอบสนองสืบค้นข้อมูลที่เร็วกว่าและการพัฒนาสคีมาที่ยืดหยุ่นมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ mysql แต่ถึงอย่างไรการศึกษาชี้ให้เห็นว่าฐานข้อมูล NoSQL ยังไม่ใช่ทางเลือกสำหรับแทนที่ในงานฐานข้อมูลของกรณีศึกษาเนื่องจากการศึกษารายละเอียดของระบบงานพบว่าข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็นช่วงเวลาไม่เกิดขึ้นทุกวัน แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงประโยชน์ของการจัดการข้อมูล NoSQL ในการเก็บข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดข้อมูลขนาดใหญ่ได้แก่ข้อมูลการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของบุคลากรและนักศึกษา ผลการทดลองนี้จะถูกนำไปเสนอต่อผู้บริหารในเรื่องการพัฒนาฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Madugu J. S. (2018). Modeling and Simulation of Proportional-Integral-Derivative (PID) Temperature Controller for an Electric Kettle. International Jounal of Engineering, Science and Mathematice 7(9), 15–20.

Minorsky, N. (1922). Directional stability of automatically steered bodies. American Society of Naval Engineering, 34, 284.

Pessen, D. W. (1996). A New Look at PID Controller Tuning. Trans. of the ASME, Journal of Dynamic Systems, Measurement, and Control, Sept., (116), 553–557.

Sato T. and Inoue A. (2004). A Design Method of Multirate I-PD Controller based on Multirate Generalized Predictive Control Law. In Proc. SICE Annual Conference, 17–22.

Stphanopoulos, G. (2006). Chemical Process Control: An Introduction to Theory and Practice. Prentice-Hall of India, New Delhi.

Talbi, E. G. (2009). Metaheuristics form Design to Implementation. John Wiley & Sons.

Tsai, P. W., Pan, J. S., Liao, B. Y., Tsai, M. J., & Istanda, V. (2011). Bat algorithm inspired algorithm for solving numerical optimization problems. Applied Mechanics and Materials, (148–149), 134–137.

Yang, X. S. (2010, 1). Engineering Optimization, An Introduction with Metaheuristic Applications. John Wiley & Sons.

Yang, X. S. (2010, 2). A new metaheuristic bat-inspired an algorithm. In: Nature Inspired Cooperative Strategies for Optimization (NICSO2010) (Eds. J. R. Gonzalez et al.) Studies in Computational Intelligence, Springer Berlin, 284, Springer, 65–74.

Yang, X. S. (2011). Bat algorithm for multi-objective optimization. Int. J. Bio-Inspired Computation. 3(5), 267–274.

Ziegler J. G. and Nichols N. B. (1942). Optimum Settings for Automatic Controllers. In Trans. of the ASME, (64), 759–768.