การศึกษาและการออกแบบชุดอุปกรณ์สร้างลายเสื่อกกบนฐาน อัตลักษณ์ชุมชนบ้านสำโรงตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

Authors

  • ธัญรัศม์ ยุทธสารเสนีย์ สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสากรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • มลฤดี เพ้าหอม บริษัท คณิศรเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
  • อุษณีย์ วรรณคำ บริษัท จงสถิต จำกัด

Keywords:

Tool for Weave, Reed Mats, Pattern Design

Abstract

     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์และกระบวนการทอเสื่อกกกลุ่มสตรีแม่บ้านทอเสื่อกก บ้านสำโรง ตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ 2) ออกแบบชุดอุปกรณ์สร้างลายเสื่อกกบนฐานอัตลักษณ์ชุมชนบ้านสำโรง และ 3) ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์เสื่อกกจากชุดอุปกรณ์สร้างลายของกลุ่มผู้จำหน่ายและผู้ซื้อ กลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง จากสมาชิกกลุ่ม ผู้ความเชี่ยวชาญ ผู้จำหน่าย และผู้ซื้อสินค้าเสื่อกก เครื่องมือวิจัยที่ใช้ เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ผลใช้ทั้งแบบพรรณนา และการวิเคราะห์ทางสถิติ

     ผลการศึกษา พบว่า การศึกษาอัตลักษณ์ชุมชนที่สื่อถึงชุมชน คือ ต้นสำโรง ตามชื่อหมู่บ้าน และภูมิทัศน์ที่สำคัญของชุมชน คือ แม่น้ำมูล จึงได้ออกแบบลายจากใบสำโรง จำนวน  2 แบบ ดอกสำโรง จำนวน 3 แบบ ผลสำโรง 3 แบบ ลายลุ่มน้ำมูล 1 แบบ และทรัพยากรในน้ำมูล จำนวน 1 แบบ รวมเป็น 10 แบบ จากนั้นได้ทำการประเมินแบบตามความเหมาะสมและสื่อถึงอัตลักษณ์ชุมชนได้ชัดเจนที่สุด โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ พบว่า แบบที่เหมาะสมที่สุด คือแบบที่ 5 ที่สื่ออัตลักษณ์ของดอกสำโรงได้อย่างสมดุล สวยงาม โดดเด่น และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีผลประเมินในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ที่ ( = 4.52) จึงนำลายที่ได้ไปสร้างชุดอุปกรณ์สร้างลายบนท่อพีวีซีจำนวน 11 ท่อน และประเมินผลการใช้งานชุดอุปกรณ์ จากสมาชิกผู้ทอเสื่อกก มีผลเฉลี่ยอยู่ที่ ( = 4.69) และจากการประเมินผลต้นแบบผลิตภัณฑ์เสื่อกกจากผู้จำหน่ายและผู้ซื้อ พบว่า มีระดับความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ที่ ( = 4.64) ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดจากงานวิจัย คือ ลดค่าใช้จ่ายของกลุ่มได้ร้อยละ 60 สมาชิกกลุ่มมีความรู้และเกิดทักษะการสร้างชุดอุกปกรณ์ได้

Downloads

Published

2019-06-30