Publication-Ethics
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Author)
1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งเพื่อตีพิมพ์ในวารสารเป็นผลงานใหม่ ไม่อยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาบทความในวารสารอื่น และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2. ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบแหล่งที่มาของเอกสารที่นำมาอ้างอิงอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์
3. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย รวมถึงผู้ที่มีชื่อปรากฎในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
4. ผู้นิพนธ์ต้องศึกษาและจัดทำบทความให้ถูกต้องตามแบบฟอร์มของวารสารที่กำหนดไว้ในคำแนะนำการเขียนบทความอย่างเคร่งครัด
5. ผู้นิพนธ์ต้องยอมรับคำวิจารณ์ ดำเนินการแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะจากผู้ประเมิน และสามารถชี้แจงตอบกลับให้ข้อมูลที่สนับสนุนการวิจัยอย่างครบถ้วนก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)
1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาบทความ ตรวจสอบคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
2. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับวัตถุประสงค์ของวารสารเป็นสำคัญ ต้องดำเนินการทุกย่างเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร
3. บรรณาธิการมีหน้าที่ชี้แจงให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (Peer review) ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน
4. บรรณาธิการต้องตรวจสอบคุณภาพบทความ ความถูกต้องของรายงานการศึกษา ตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างเคร่งครัด หากพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นต้องระงับการประเมินและติดต่อผู้นิพนธ์ เพื่อแจ้งปฏิเสธการตีพิมพ์
5. บรรณาธิการต้องมีความเข้มข้น ตรวจสอบคุณภาพบทความ รักษามาตรฐานของวารสารให้มีคุณภาพอยู่เสมอ
6. บรรณาธิการไม่ดำเนินการตีพิมพ์บทความที่เคยผ่านการตีพิมพ์มาจากที่อื่น
7. บรรณาธิการต้องกำหนดให้ผู้นิพนธ์ที่ส่งบทความมาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จะต้องส่งผลการลอกเลียนผลงาน (Plagiarism) ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ไปยังวารสาร โดยสามารถตรวจการลอกเลียนผลงานได้ทางเว็บไซต์ http://plag.grad.chula.ac.th/
และดัชนีความซ้ำซอนของบทความต้องไม่เกินร้อยละ 10
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
1. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ โดยการพิจารณาความสำคัญของเนื้อหา ระเบียบวิธีการดำเนินการ คุณภาพของการวิเคราะห์ผลข้อมูล และมีความเข้มข้นของผลงานที่จะประเมิน
2. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้แก่บุคคลอื่นๆ และผู้นิพนธ์แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
3. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความโดยไม่มีอคติ และไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
4. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์บทความ
5. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับกองบรรณาธิการวารสาร
6. ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบหากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือน มีการลอกเลียน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่น
7. ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาบทความตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด