การพัฒนารถเข็นกวาดขยะแบบกึ่งอัตโนมัติสําหรับใช้ในชุมชน

Authors

  • รุ้งสุริยา บุญตาแสง สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • จิราวัฒน์ พิมพากุล สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ภานุวัฒน์ ภูมิชัย สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Keywords:

การพัฒนา, รถเข็นกวาดขยะ, กึ่งอัตโนมัติชุมชน

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารถเข็นกวาดขยะแบบกึ่งอัตโนมัติสําหรับใช้ในชุมชนบ้านกลันทา ตําบลกลันทา อําเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของรถเข็นกวาดขยะแบบกึ่งอัตโนมัติที่พัฒนาใหม่กับเครื่องแบบเดิม และ 3) เพื่อหาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของรถเข็นกวาดขยะ
แบบกึ่งอัตโนมัติและหาความพึงพอใจในการใช้รถเข็นกวาดขยะแบบกึ่งอัตโนมัติของผู้ใช้ผลการวิจัยพบว่ารถเข็นกวาดขยะแบบใหม่มีประสิทธิภาพในการทํางานสามารถลดเวลาในการเก็บขวดพลาสติก 1 กิโลกรัมจากเดิม 15.36 นาทีเหลือ 14.57 นาทีลดลง 0.79 นาทีคิดเป็นร้อยละ 5.14 สามารถลดเวลาในการเก็บ
ใบไม้ 1 กิโลกรัม จากเดิม 20.44 นาทีเหลือ 18.35 นาทีลดลง 2.09 นาทีคิดเป็นร้อยละ 10.22 สามารถลดเวลาในการเก็บเศษพลาสติก 1 กิโลกรัม จากเดิม 18.39 นาทีเหลือ 16.45 นาทีลดลง 1.94 นาทีคิดเป็นร้อยละ 10.55 สามารถลดเวลาในการเก็บกระป๋อง 1 กิโลกรัม จากเดิม 15.41 นาทีเหลือ 14.55 นาทีลดลง 0.86 นาทีคิดเป็นร้อยละ5.58 ผลการวิเคราะห์พึงพอใจพบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในด้านโครงสร้าง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 ด้านการใช้งาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 และด้านคุณค่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 ดังนั้น สรุปภาพรวม ความพึงพอใจของผู้ใช้งานทั้งหมดที่มีต่อรถเข็นกวาดขยะแบบกึ่งอัตโนมัติทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 3.94 คิดเป็นร้อยละ 78.80 เมื่อวิเคราะห์จุดคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์พบว่า ต้องขาย 1 เครื่องถึงจะคุ้มทุน

Downloads

Published

2020-06-30