การพัฒนาและออกแบบเครื่องกรอไหม

Authors

  • ภูริชญ์ งามคง สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • กิ่งกาญจน์ สระบัว สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Keywords:

เส้นไหม, เครื่องกรอไหม, ไหมเส้นยืน

Abstract

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องกรอไหมเส้นยืน 2) เพื่อหาประสิทธิภาพเครื่องกรอไหมเส้นยืนการออกแบบเน้นการใช้งานได้สะดวกสบายในการใช้งาน เช่น สำหรับการออกแบบเครื่องกรอไหมเส้นยืนโดยสามารถกรอเส้นไหมได้ตั้งแต่ 1-4 หลอด ออกแบบให้เครื่องกรอไหมเส้นยืนมีความแข็งแรง ออกแบบเครื่องกรอไหมเส้นยืนให้มีฟังก์ชันที่ควบคุมง่ายต่อการใช้งาน ออกแบบให้พันเส้นไหมเข้าหลอด PVC ได้เอง มีชุดปรับเส้นไหมให้เรียงเส้นไหมเป็นระเบียบ มีการตรวจจับเส้นไหมขาดด้วยเซนเซอร์ เมื่อเส้นไหมขาดเครื่องกรอไหมเส้นยืนหยุดการทำงานเพื่อต่อเส้นไหม มีเคาท์เตอร์นับจำนวนรอบให้เลือกจำนวนที่ต้องการ มีชุดปรับความเร็วรอบของที่กรอเส้นไหมและปรับความเร็วรอบของที่ปรับเส้นไหมและมีชุดตัดเส้นไหมเมื่อกรอเส้นไหมจำนวนรอบที่ตั้งไว้ ออกแบบให้เครื่องกรอไหมเส้นยืนให้มีการงานใช้งานและความปลอดภัย ออกแบบให้มีอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

          การทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องกรอไหมเส้นยืนสามารถกรอเส้นไหมจากระวิงลงหลอด PVC 1-4 หลอด มีความเร็วรอบสูงสุดในการกรอเส้นไหม 422 รอบ/นาที โดยทำการทดสอบเลือกจำนวน 3000 รอบ ใช้เวลาในการกรอไหม 9 นาที ใช้กระแสไฟ 0.21 A ที่แรงดัน 230 V

Downloads

Published

30-12-2020

How to Cite

งามคง ภ., & สระบัว ก. (2020). การพัฒนาและออกแบบเครื่องกรอไหม. Journal of Industrial Technology Buriram Rajabhat University, 2(2), 54–66. Retrieved from https://ph05.tci-thaijo.org/index.php/bru-idtech-journal/article/view/18

Issue

Section

Research article