การศึกษาการทําเคลือบดินลูกรัง โซดาเฟลด์สปาร์และดินขาวสําหรับเคลือบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์

Authors

  • จิรัฐติกานต์ ศรีทาเกิด สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สุชีวัน อินทุ่ง สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • รพีพร เทียมจันทร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Keywords:

เคลือบเซรามิกส์, ดินลูกรัง

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงเคมีของดินลูกรังจากอําเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อศึกษาหาอัตราส่วนผสมของดินลูกรัง โซดาเฟลด์สปาร์และดินขาวลําปาง จากหจก.นอร์ทเทอร์นเคมิเคิล แอนด์กลาสแวร์โดยนําวัตถุดิบทั้ง 3 ชนิดมาบดหยาบด้วยจอว์ครัชเชอร์และบดละเอียดใน
หม้อบด จากนั้นทําการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงเคมีของดินลูกรัง แล้วนําเอาวัตถุดิบทั้ง 3 ชนิดซึ่งผ่านการบดและร่อนผ่านตะแกรง 325 เมช นํามาชั่งตามอัตราส่วนผสมทําการกวนส่วนผสมในถังกวน แล้วชุบเคลือบชิ้นงานทดสอบทั้งหมด 66 สูตรนําชิ้นงานที่ชุบเคลือบไปเผาในบรรยากาศออกซิเดชันด้วยเตาไฟฟ้าใน
ห้องปฏิบัติการเซรามิกส์สาขาเทคโนโลยีเซรามิกส์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงเคมีของดินลูกรัง พบว่าดินลูกรังมีปริมาณของธาตุเบาร้อยละ 57 มีซิลิกอนร้อยละ 25.62 เหล็กร้อยละ 4.06 โพแทสเซียมร้อยละ 3.81 และเมื่อนํามาเตรียมเป็นสูตรเคลือบเซรามิกส์ทั้งหมด 66 สูตร พบว่าสูตรเคลือบที่ดีที่สุดและเหมาะสมสําหรับการนําไปใช้ทําน้ําเคลือบเซรามิกส์ซึ่งเคลือบที่ได้มีลักษณะของผิวเรียบมันวาว สีสวย มีอยู่ 7 สูตรด้วยกัน ได้แก่ สูตรที่ 21 เป็นสีน้ําตาล สูตรที่ 38 และ 54 เป็นสีน้ําตาลอ่อน สูตรที่ 46 และ 56 เป็นสีเทา สูตรที่ 57 เป็นสีเทาหม่น และ สูตรที่ 58 เป็นสีเทา
อ่อน

Downloads

Published

30-06-2020

How to Cite

ศรีทาเกิด จ., อินทุ่ง ส., & เทียมจันทร์ ร. (2020). การศึกษาการทําเคลือบดินลูกรัง โซดาเฟลด์สปาร์และดินขาวสําหรับเคลือบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์. Journal of Industrial Technology Buriram Rajabhat University, 2(1), 32–43. Retrieved from https://ph05.tci-thaijo.org/index.php/bru-idtech-journal/article/view/15

Issue

Section

Research article