https://ph05.tci-thaijo.org/index.php/bru-idtech-journal/issue/feed Journal of Industrial Technology Buriram Rajabhat University 2023-07-01T00:56:34+07:00 ผศ.ดร.วิสิทธิ์ ลุมชะเนาว์ idtechjr@bru.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวารสารเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีอุตสาหกรรมของนักศึกษาอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการและบุคคลทั่วไปโดยตีพิมพ์บทความวิจัย และบทความวิชาการบทความอธิบายการประกอบสร้างสิ่งประดิษฐ์หรืองาน สร้างสรรค์ครุศาสตร์อุตสาหกรรม วิศวกรรมศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมและการออกแบบ และ สหวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</p> https://ph05.tci-thaijo.org/index.php/bru-idtech-journal/article/view/26 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2023-07-01T00:45:20+07:00 ชวนชม สิบพันทา cc@gmail.com วลัยพร ยอดคำมี aew4923@gmail.com พรสวรรค์ จันทะคัด bhornsawan.c@fte.kmutnb.ac.th <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจและศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากร</p> <p>สายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับ การศึกษา สถานภาพการสมรส อายุการทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการระดับตำแหน่งปฏิบัติการ ชำนาญการและชำนาญการพิเศษ ที่ปฏิบัติงานในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 101 คนโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าเฉลี่ยแบบจำแนกสองทาง การวิเคราะห์ความแตกต่างด้วย T-Test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (Anova) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยโดยภาพรวม อยู่ในระดับความสำคัญมาก การเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัย จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ สถานภาพการสมรส อายุการทำงาน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้านอายุ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อยู่ 1 รายการ ได้แก่ หน่วยงานมีวารสารการวิจัยและช่องทางการนำผลงานวิจัยไปเผยแพร่ ด้านระดับการศึกษา มีจำนวน 5 รายการ ได้แก่ 1) งานมีความเกี่ยวเนื่องกับหน่วยงานอื่น 2) สามารถจัดลำดับความสำคัญของงานได้ 3) บุคคลที่ทำวิจัยมีโอกาสก้าวหน้ามากกว่าบุคคลที่ไม่เคยทำวิจัย 4) ทำงานวิจัยเพื่อความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน 5) ระยะเวลาในการปฏิบัติงานเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ และด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีจำนวน 1 รายการ ได้แก่ งานที่ทำมีโอกาสได้รับการเลื่อนระดับตำแหน่ง</p> 2024-09-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://ph05.tci-thaijo.org/index.php/bru-idtech-journal/article/view/27 การพัฒนาเครื่องปอกเปลือกหน่อไม้แบบกึ่งอัตโนมัติ 2023-07-01T00:51:31+07:00 อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา udompong.jo@gmail.com พิพัฒน์ ประจญศานต์ cc@gmail.com วิทยา อินทร์สอน cc@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องปอกเปลือกหน่อไม้แบบกึ่งอัตโนมัติที่และหาประสิทธิภาพของเครื่องปอกเปลือกหน่อไม้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการวิจัยโดยการพัฒนาเครื่องปอกเปลือกหน่อไม้แบบกึ่งอัตโนมัติที่ออกแบบใหม่ และทดสอบประสิทธิภาพของเครื่อง แล้วนำผลการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องมาเปรียบเทียบกับเครื่องปอกเปลือกหน่อไม้ต้นแบบ เครื่องปอกเปลือกหน่อไม้ที่พัฒนาใหม่มีขนาด 0.30 X 0.50 X 0.40 เมตร ใช้เหล็กเป็นวัสดุหลักในการสร้างโครงสร้างเครื่อง ส่วนฟันปอกเปลือกหน่อไม้นั้นใช้ยางเป็นวัสดุหลักซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ ระบบส่งกำลังใช้มอเตอร์ขนาด 0.5 แรงม้า เป็นต้นกำลัง ผลการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องปอกเปลือกหน่อไม้ที่พัฒนาใหม่พบว่าเครื่องสามารถปอกเปลือกหน่อไม้มีประสิทธิภาพในการทำงานมีเวลาเฉลี่ยการปอกอยู่ที่หน่อละ 33.86 วินาที ซึ่งเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเครื่องปอกเปลือกหน่อไม้ต้นแบบพบว่าเครื่องปอกเปลือกหน่อไม้ที่ผู้วิจัยพัฒนาใหม่สามารถทำงานได้ดีกว่า มีค่าเวลาเฉลี่ยในการปอกที่เร็วกว่าอยู่ที่ 36.8 วินาทีต่อหน่อ</p> 2024-09-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://ph05.tci-thaijo.org/index.php/bru-idtech-journal/article/view/28 การเพิ่มประสิทธิภาพการนำน้ำมาใช้ของเครื่องกระจายน้ำประหยัดพลังงานโดยใช้จักรยาน 2023-07-01T00:56:34+07:00 อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา udompong.jo@gmail.com พิพัฒน์ ประจญศานต์ cc@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องการกระจายน้ำแบบประหยัดพลังงานโดยใช้จักรยาน 2) เพื่อหาประสิทธิภาพเครื่องการกระจายน้ำแบบประหยัดพลังงานโดยใช้จักรยาน ผลการวิจัยพบว่า การคำนวณหาอัตราทดการทำงานของเครื่องกระจายน้ำ เพื่อหาประสิทธิภาพและข้อมูลต่าง ๆ พบว่า การสูบน้ำด้วยปั๊มน้ำขนาด 1 นิ้ว โดยใช้จักรยานในการปั่นจานโซ่ขนาด 7 นิ้ว สเตอร์ฟรีขนาด 3 นิ้ว มู่เล่ย์รองขนาด 22 นิ้ว และมู่เล่ย์ปั๊มน้ำขนาด 7 นิ้ว จะได้ความเร็วรอบสุดท้าย เท่ากับ 252 รอบ/นาที อัตราทดทั้งหมด เท่ากับ 0.119 การสูบน้ำด้วยจักรยาน โดยมีประสิทธิภาพของเครื่องกระจายน้ำในการทำงานในเวลา 1 นาทีสามารถสูบน้ำมาได้ 42 ลิตร ส่วนรูปแบบใบพัดรับน้ำจะเข้ามาช่วยแรงดันน้ำให้ได้ระยะที่ไกลขึ้น ประสิทธิภาพเครื่องในระยะทาง 2 เมตร เมื่อจับเวลา 3 นาที เท่ากัน น้ำลงมาที่ใบพัดรับน้ำ ปริมาณน้ำที่ได้อยู่ 225 ลิตร และน้ำลงมาที่ไม่มีใบพัด 195 ลิตร ซึ่งแบบน้ำลงมาที่มีใบพัดรับน้ำจะได้มากกว่าแบบไม่มีใบพัดรับน้ำอยู่ที่ 30 ลิตร ด้านความพึงพอใจของเกษตรกรที่ทดลองใช้เครื่องมีเครื่องกระจายน้ำแบบประหยัดพลังงานโดยใช้จักรยานในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.35 (ร้อยละ 87.00)</p> 2022-06-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023